ความเครียด & ภาวะหมดไฟ o การดูแลตัวเอง
ระบบประสาทในร่างกายของคุณมีวิธีทำให้คุณรู้ว่าอยู่ในภาวะอันตรายโดยการหลั่งสารฮอร์โมนความเครียดปริมาณมาก สารคอร์ติซอลและอะดรินาลินบอกให้ร่างกายของคุณเข้าสู่โหมดฉุกเฉิน ร่างกายของคุณจะแข็งแรงมากขึ้นและโฟกัสมากขึ้นในชั่วขณะหนึ่ง เมื่อสิ่งที่คุกคามผ่านไปแล้ว ร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ
ความเครียดเป็นวิธีธรรมชาติของร่างกายที่ป้องกันคุณในช่วงสั้น ๆ เป็นการตอบสนองแบบสู้หรือหนี โดยร่างกายเตรียมพร้อมสู่โหมดต่อสู้หรือวิ่งหนีจากสถานการณ์คุกคาม
ความเครียดอาจเป็นเรื้อรัง
โดยปกติความเครียดเกิดขึ้นจากความกดดันหรือความตึงเครียด ความกดดันอาจเกิดจากกายภาพอย่างภาวะท่วมท้นจากงานหรือโดนไล่ล่าจากหมี เป็นผลกระทบด้านอารมณ์ อาทิ ความโศกเศร้าหรือสูญเสียคนที่คุณรัก หรือทางจิตอย่างอาการกลัว เมื่อความกดดันหรือความตึงเครียดไม่ได้ถูกปลดปล่อยและการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด “เปิด” อยู่ตลอดเวลา มันจะทำให้คุณมีความเครียดเรื้อรัง
ความเครียดแบบปกติเป็นส่วนหนึ่งของกลไกป้องกันของร่างกาย แต่ความเครียดเรื้อรังจะรบกวนความสามารถของร่างกายในการควบคุมและสร้างเซลล์ใหม่
ความเครียดทำอะไรกับร่างกายของคุณ
ความเครียดทำให้เส้นเลือดหดตัวและทำให้กล้ามเนื้อตึงมากขึ้น โดยทำให้หัวใจสูบฉีดเร็วขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในขณะที่ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากความเครียดแบบปกติได้ แต่มันจะไม่เป็นเช่นนั้นในกรณีความเครียดเรื้อรัง
แม้งานวิจัยยังไม่ได้พิสูจน์ว่าความเครียดเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้เกิดความดันโลหิตสูงในระยะยาว การจัดการความเครียดไม่ดีอาจนำไปสู่พฤติกรรมอันตรายได้ อาทิ สูบบุหรี่ กินอาหารไม่ดีแบบหยุดไม่ได้ และการใช้สารเสพติดที่ทำให้ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง มันยังส่งผลร้ายต่อภูมิคุ้มกัน ระบบย่อย และระบบสืบพันธุ์ สมองที่ปรับเปลี่ยนไปทำให้คุณเสี่ยงต่อความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และอาการสุขภาพจิตอื่น ๆ มากขึ้น และอาจเร่งกระบวนการเกิดความชราให้เร็วขึ้น
ถ้าขาดการตรวจเช็ค ความเครียดเองจะมีผลต่อร่างกายมากกว่าการใช้ร่างกายหนัก ๆ เสียอีก ความเครียดเรื้อรังยังต้นเหตุที่แท้จริงของโรคที่เกิดขึ้นร่วมกันหลายโรค อาทิ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า โรคภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ และมะเร็งบางชนิด
คุณทำอะไรเกี่ยวกับมันได้บ้าง
ข่าวดีคือการจัดการความเครียดไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ นิสัยที่ดีต่อสุขภาพสามารถช่วยลดระดับความเครียดและลดความเสี่ยงทางสุขภาพได้ สิ่งที่คุณทำได้มีดังนี้:
- ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยลดความเครียดและความดันโลหิตได้ และช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงโดยฝึกให้หัวใจสูบฉีดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกกำลังกายยังทำให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้รู้สึกดี
- หายใจ: การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ หรือทำสมาธิสักไม่กี่นาทีต่อวันสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกสงบได้ วิธีง่าย ๆ ในการฝึกหายใจคือให้วางมือเบา ๆ บนหน้าท้องเพื่อให้รู้สึกถึงท้องป่องในขณะที่คุณหายใจเข้าและยุบลงเมื่อหายใจออก
- พักผ่อน: การพักผ่อนไม่เพียงพอมีผลต่ออารมณ์ ความสามารถในการตัดสินใจลดลง และทำให้เกิดภาวะสมองล้า การมีวินัยต่อตนเองโดยการไม่ใช้มือถือก่อนเวลานอนหรืองีบสั้น ๆ ระหว่างวันอาจช่วยได้
- หัวเราะ: ผ่อนคลายกับเพื่อนและคนที่รัก ดูหนังตลก และเพียงหัวเราะในเรื่องบ้าบอก็สามารถช่วยปรับอารมณ์และทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งสัญญาณไปยังสมองว่าไม่ต้องจริงจังกับสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป
- จดบันทึก: ให้เวลาฝึกที่จะดูแลตัวเองและวิเคราะห์วันของคุณจะช่วยให้คุณแสดงออกถึงตัวคุณ เปิดรับมุมมอง และจัดลำดับความสำคัญของงานเพื่อที่คุณจะสามารถเลือกโฟกัสเวลาและพลังงานได้อย่างเหมาะสม
- การบำบัด: การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถสอนให้คุณมีกลไกรับมือที่ดีและรู้จักปล่อยวางกับสิ่งที่ก่อความเครียด มันเป็นวิธีที่ดีมากที่จะพาคุณออกจากโซนปลอดภัยและเอาชนะสิ่งที่ก่อความเครียดได้
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติของเราแต่มันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะทำอะไรเพื่อจัดการเมื่อความเครียดเข้ามาในชีวิตก่อนที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตแบบเรียกกลับคืนไม่ได้
บทความนี้นำเสนอโดยโค้ชสุขภาพจิตนัลลูรี่ นัลลูรี่เปิดโอกาสให้คุณพัฒนาไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพ ได้ผลลัพธ์สุขภาพที่มีความหมาย และแข็งแรงขึ้นและมีความสุขมากขึ้นผ่านการโค้ชเฉพาะบุคคล โปรแกรมที่มีโครงสร้าง บทเรียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และเครื่องมือพร้อมอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ ดาวน์โหลดแอปนัลลูรี่วันนี้หรือติดต่อ hello@naluri.life สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้การโค้ชเพื่อสุขภาพและการบำบัดแบบดิจิทัลเพื่อเป็นคุณที่สุขมากกว่า และสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น