Skip to content
Talk to your boss about burnout
นัลลูรี่< 1 min read

วิธีคุยกับหัวหน้าของคุณเรื่องภาวะหมดไฟ

คุณเคยรู้สึกว่ากองงานสูงขึ้นเร็วกว่าที่คุณจะทำทันไหม หรือแม้แต่งานที่แสนง่ายก็ต้องใช้ความพยายามมาก มันเกิดขึ้นกับเราทุกคน ตั้งแต่ความเครียดจากการโรคระบาดครั้งใหญ่ไปจนถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความกดดันอื่นๆ ในที่ทำงาน ก็ไม่แปลกเลยที่หลายคนจะรู้สึกถึงผลกระทบของภาวะหมดไฟในที่ทำงานที่หนักอึ้งอยู่บนบ่าของเรา นี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะถ้าคุณไม่พูดถึงมัน มันจะเริ่มส่งผลกระทบไม่เพียงต่อสุขภาวะโดยรวมของคุณ แต่ที่ทำงานทั้งหมดด้วย

 

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ควรมีการพูดเรื่องภาวะหมดไฟในที่ทำงานกับหัวหน้าของคุณ

 

หัวหน้าของคุณไม่ได้มีหน้าที่แค่เพียงสั่งงานและประเมินผลการทำงานของคุณเท่านั้น จริงๆ แล้วผู้จัดการมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิตของคนคนหนึ่ง มากกว่าคู่สมรส ครอบครัวหรือนักบำบัดเสียอีก ดังนั้น การบอกให้เขารู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไรเพื่อที่เขาจะสามารถให้การสนับสนุนและช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่ของคุณได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ 

 

การเปิดใจบอกว่าคุณกำลังเผชิญอะไรอยู่จะทำให้คุณไม่เพียงได้รับความช่วยเหลือและความเข้าใจจากเขา แต่ยังจะเป็นการเปิดทางให้วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ เขาอาจจะพยายามปรับบางอย่างเพื่อช่วยเหลือสุขภาวะของคุณโดยการช่วยให้คุณบริหารปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือแนะนำทรัพยากรที่สามารถช่วยเหลือคุณในการดูแลตัวเองได้

 

ดังนั้น หายใจเข้าลึก ๆ และสร้างความมั่นใจในการเปิดบทสนทนากับหัวหน้าของคุณ การคุยกับหัวหน้าเป็นเรื่องที่กล้าหาญและจำเป็นในการไปสู่การพูดถึงภาวะหมดไฟในที่ทำงานในเชิงบวก 

 

อย่างไรก็ตาม การที่คุณอาจรู้สึกกดดันจนทำอะไรไม่ถูกและเหนื่อยล้านั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และการพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อที่อ่อนไหวเช่นนี้กับหัวหน้าของคุณอาจเป็นเรื่องท้าทายและลำบากใจ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะเจาะลึกในแนวทางทีละขั้นของวิธีพูดเรื่องภาวะหมดไฟกับหัวหน้าของคุณ

 

วิธีพูดเรื่องภาวะหมดไฟกับหัวหน้าของคุณ

เตรียมตัวให้พร้อม
  1. ทำความเข้าใจภาวะหมดไฟในปัจจุบันของคุณ
    ก่อนพูดเรื่องภาวะหมดไฟกับหัวหน้า คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและยอมรับว่าคุณรู้สึกอย่างไร
    ภาวะหมดไฟเป็นได้มากกว่าเพียงความรู้สึกเครียดและกดดันจนทำอะไรไม่ถูก มันสามารถทำให้คุณหมดพลังงาน หมดความกระตือรือร้น และไม่มีความสุข มันทำให้ทุกอย่างรู้สึกหนักขึ้น เหมือนมีเมฆดำลอยเหนือศีรษะ คุณรู้สึกเหนื่อยผิดปกติไม่ว่าคุณจะพักผ่อนมากแค่ไหนแล้วก็ตามไหม การสร้างความกระตือรือร้นในการทำงานของคุณยากขึ้นมากไหม

    สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟที่คุณไม่ควรละเลย ภาวะหมดไฟอาจแสดงออกมาให้เห็นเป็นอาการหลากหลาย ได้แก่:
    • รู้สึกเหนื่อยล้าและหมดแรง
    • ขาดแรงจูงใจและความสนใจในงาน
    • มีความหงุดหงิดงุ่นง่านมากขึ้น
    • ผลงานและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
    • รู้สึกทำอะไรไม่ถูกและไม่สามารถทำอะไรได้

    การเข้าใจสัญญาณเตือนเบื้องต้นของภาวะหมดไฟเหล่านี้จะช่วยให้คุณป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ถ้าคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับภาวะหมดไฟของคุณ นัลลูรี่ได้จัดทำแบบประเมินภาวะหมดไฟ(BAT-12) ให้ฟรี ซึ่งแบบประเมินนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังรู้สึก

  2. ระบุต้นเหตุของภาวะหมดไฟของคุณ
    ตอนนี้เรามาลงลึกกันมากขึ้น อะไรอยู่เบื้องหลังของความรู้สึกที่เกินรับไหวเหล่านี้ ใช่ปริมาณงานหรือไม่ หรืออาจเป็นความเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานที่ทำให้คุณเครียด

    การเข้าใจต้นเหตุของภาวะหมดไฟในที่ทำงานจะช่วยให้คุณอธิบายกับหัวหน้าและหาทางออกที่เป็นไปได้ ลองใช้เวลาในการทบทวนว่าอะไรทำให้คุณเครียดเร็วๆ นี้ และจดบันทึกเอาไว้

  3. คิดถึงทางออกที่เป็นไปได้
    เมื่อคุณได้ระบุต้นเหตุของภาวะหมดไฟของคุณแล้ว ก็ถึงเวลาหาวิธีที่จะทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น
    • การหยุดงาน 1 วันหรือมีเวลางานที่ยืดหยุ่นขึ้นจะช่วยไหม
    • มีอะไรที่คุณทำแล้วรู้สึกสนุก นอกเหนือจากงาน ที่คุณสามารถกลับไปทำเพื่อช่วยจุดประกายให้ชีวิตใหม่ไหม 

การหาทางออกในตอนที่คุณรู้สึกหมดไฟเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็จำเป็นที่จะต้องคิดหาทางออกที่เป็นไปได้เพื่อรับมือกับภาวะหมดไฟซึ่งจะช่วยทำให้การสนทนาได้ผลดีมากขึ้นตอนที่คุณเริ่มพูดถึงประเด็นปัญหากับหัวหน้า

พูดคุยกับหัวหน้าของคุณ
  1. เปิดการสนทนา
    ตอนนี้ถึงเวลาเริ่มการสนทนาแล้ว เข้าหาหัวหน้าของคุณเพื่อพูดเรื่องภาวะหมดไฟในที่ทำงานจำเป็นต้องใช้ความกล้าและมีความเปราะบาง จำไว้ว่าหัวหน้าของคุณอาจไม่รู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร ดังนั้นการเล่าให้ฟังจึงเป็นเรื่องที่ทำได้

    วิธีการเริ่มสนทนาที่อ่อนโยนทำได้ดังนี้:
    • หัวหน้าคะ/ครับ ช่วงนี้ฉัน/ผมรู้สึกทำอะไรไม่ถูก เหมือนมันมีอะไรเยอะเกินจะรับไหว ขอคุยเพื่อหาวิธีทำให้อะไรๆ รู้สึกเบาขึ้นได้ไหมคะ/ครับ”
    • ฉัน/ผมอยากทำงานให้ได้ดีที่สุดจริงๆ แต่ฉัน/ผมรู้สึกเหนื่อยมาก เรามาลองช่วยกันหาวิธีที่จะทำให้จัดการสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นได้ไหมคะ/ครับ”
    • ฉัน/ผมค่อนข้างรู้สึกว่าต้องดิ้นรนต่อสู้มาสักพักนึงแล้วค่ะ/ครับ หัวหน้าพอจะช่วยซัพพอร์ตได้ไหม มาคุยเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้อะไรๆ รู้สึกง่ายขึ้นนิดหน่อยได้ไหมคะ/ครับ”

  2. พูดตามความเป็นจริงและตรงไปตรงมา
    เวลาที่คุณสนทนาเรื่องนี้ ให้พูดตรงตามจริงแต่ยังมีความเห็นใจกันด้วย โฟกัสเรื่องความรู้สึกของคุณมากกว่าการชี้ว่าใครผิด

    ใช้สรรพนาม ฉัน/ผมสามารถช่วยสื่อสารอารมณ์และความคิดของคุณได้อย่างชัดเจน วิธีนี้ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารแบบเปิดเผยและทำให้หัวหน้าของคุณเข้าใจมุมมองของคุณมากขึ้น

  3. อธิบายผลกระทบ
    ถัดไป สิ่งจำเป็นอีกอย่างคืออธิบายว่าภาวะหมดไฟในที่ทำงานกระทบต่อผลการทำงาน ประสิทธิภาพ และแรงจูงใจของคุณอย่างไรบ้าง

    ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของสถานการณ์ และช่วยให้หัวหน้าของคุณเข้าใจว่าทำไมการพูดคุยเรื่องนี้จึงมีความสำคัญ

    อธิบายว่าสิ่งนี้กระทบต่อสุขภาพจิตและความสามารถในการทำงานของคุณอย่างไร เจาะจงลงไปว่ามันกระทบงานและชีวิตส่วนตัวของคุณอย่างไรบ้าง

  4. นำเสนอหาทางออก
    แทนที่จะชูประเด็นปัญหาอย่างเดียว เตรียมทางออกที่เป็นไปได้ไว้ด้วย อาจเป็นในรูปแบบของการเสนอให้ปรับปริมาณงานของคุณ ขอให้จัดรูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่น หรือขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม

    การนำเสนอทางออกก่อนแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะภาวะหมดไฟของคุณและทำให้การสนทนากับหัวหน้ามีผลดีมากยิ่งขึ้น

  5. กำหนดขอบเขต
    สุดท้ายนี้ ให้สื่อสารอย่างชัดเจนถึงขอบเขตและข้อจำกัดกับหัวหน้าของคุณ ให้เขารับทราบว่าคุณรับมือได้มากน้อยแค่ไหนตามความเป็นจริงและคุณต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหมดไฟในอนาคต

    การกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนและเรียนรู้วิธี ปฏิเสธ จะช่วยให้ปริมาณงานของคุณเป็นเรื่องที่รับมือได้และทำได้อย่างยั่งยืน

 

ติดตามผล

จำไว้ว่าการคุยเรื่องภาวะหมดไฟในที่ทำงานเป็นเพียงก้าวแรก หลังจากการพูดคุยครั้งแรก คุณต้องติดตามผลของสิ่งที่จะทำตามที่ตกลงกันไว้และรู้จักดูแลตัวเองในที่ทำงานด้วย

 จัดตารางเช็คกับหัวหน้าของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินความก้าวหน้าและปรับกลยุทธ์ตามความจำเป็น การสื่อสารอย่างต่อเนื่องช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบและตอกย้ำความมุ่งมั่นของคุณในเรื่องการให้ความสำคัญกับสุขภาวะและการรับมือกับภาวะหมดไฟ

 

การพูดเรื่องภาวะหมดไฟในที่ทำงานกับหัวหน้าของคุณเป็นเรื่องท้าทายแต่มันเป็นย่างก้าวที่จำเป็นเพื่อทำให้สุขภาวะและผลการทำงานของคุณดีขึ้น พูดคุยสนทนาอย่างเป็นมืออาชีพ พูดตามความเป็นจริง และใช้วิธีคิดแบบสร้างสรรค์ และคุณอาจพบว่าหัวหน้าของคุณยินดีที่จะช่วยคุณการรับมือกับภาวะหมดไฟ และช่วยให้คุณเติบโตในบทบาทหน้าที่ของตนเอง

จำไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่เพียงลำพังในเส้นทางนี้ สำหรับคำแนะนำและความช่วยเหลือเพิ่มเติม ทำนัดหมายรับคำปรึกษาแบบตัวต่อตัวกับโค้ชสุขภาพจิตของนัลลูรี่ ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือทันที ติดต่อ แคร์ไลน์ & แชทไลน์ของนัลลูรี่ ได้ตลอดเวลา มาเริ่มก้าวแรกสู่การเอาชนะภาวะหมดไฟและส่งเสริมวัฒนธรรมการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมไปด้วยกันนะ

You may also like