การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน แต่อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับผู้ที่มีโรคหรือภาวะเรื้อรังต่าง ๆ โดยสถาบันสุขภาพและสวัสดิการออสเตรเลียได้ให้ความหมายของภาวะเรื้อรังไว้ว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานและมีผลกระทบที่ต่อเนื่อง เช่น โรคหืด โรคข้ออักเสบ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคหัวใจ
ข่าวดีก็คือ การขยับร่างกายที่ส่งผลดีต่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องเจ็บตัว! เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ (Low-impact exercise) นั้นอ่อนโยนต่อข้อต่อมากกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง เพิ่มความอดทน อีกทั้งยังเสริมสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ซึ่งการออกกำลังกายในลักษณะนี้มีหลายชนิด เช่น โยคะ การเดิน
คุณพร้อมแล้วหรือยังที่จะมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้นได้โดยไม่ต้องเจ็บ บทความที่คุณกำลังจะได้อ่านนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ โดยคุณอาจนำข้อมูลที่โค้ชสุขภาพของนัลลูรี่แนะนำซึ่งมีความปลอดภัยและใช้ได้ผลดีเหล่านี้ไปลองปรับใช้กับตนเอง
คำเตือน: บทความต่อไปนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ควรใช้เป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย
ทำความเข้าใจการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ
การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำเป็นการเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดแรงกดหรือแรงกระแทกที่ข้อต่อ กระดูก และกล้ามเนื้อต่าง ๆ น้อย แต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก โดยการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำจะมีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลและควบคุมได้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ ทำให้แตกต่างจากการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกสูงอย่างการวิ่งหรือการกระโดด
การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง มีภาวะผิดปกติของข้อต่อ หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะสามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง อีกทั้งยังเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้นโดยไม่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการออกกำลังแบบแรงกระแทกต่ำจะให้ความรู้สึกแบบการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเล่นโยคะและพิลาทิสซึ่งเน้นเคลื่อนไหวร่างกายช้า ๆ และควบคุมได้ หากคุณต้องการเพิ่มความหนัก คุณก็สามารถลงน้ำหนักเพิ่มที่ข้อมือหรือข้อเท้าได้
ทำไมจึงควรเลือกการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำมากกว่าการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกสูง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำจึงเหมาะกับคนที่มีโรคเรื้อรังมากกว่า เราจะมาดูการเปรียบเทียบระหว่างการออกกำลังกายทั้งสองแบบจากตารางต่อไปนี้
ประโยชน์อื่น ๆ ของการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ
- ป้องกันการรับประทานอาหารมากเกินไป: การเคลื่อนไหวแบบแรงกระแทกต่ำช่วยให้คุมความอยากอาหารได้ดีขึ้น
- ลดคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด): การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำช่วยควบคุมระดับคอร์ติซอล ลดการสะสมของไขมันที่เป็นผลจากความเครียด
- เพิ่มเอ็นดอร์ฟีน: ทำให้รู้สึกสงบและมีความสุขได้โดยไม่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
- รักษาสมดุลความไวต่ออินซูลิน: ช่วยจัดการน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- เสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์: การออกกำลังกายที่หนักเกินไปซึ่งเกิดจากการออกกำลังแบบแรงกระแทกสูงอาจไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ได้ แต่การออกกำลังแบบแรงกระแทกต่ำจะช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมน
การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำที่ปลอดภัยและได้ผล
สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง การออกกำลังกายหลายชนิดผสมผสานกันจะช่วยให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดี และยังคงมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำที่ได้ผลดีดังนี้
-
การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
-
ฝึกบอดี้เวท เช่น การยกขาในท่านั่ง การวิดพื้นกับผนัง
-
ใช้ยางยืดสำหรับออกกำลังกายเพื่อค่อย ๆ เสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
-
ใช้ดัมเบลขนาดเล็กออกกำลังกายในท่าต่าง ๆ
-
- การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด
- เดินออกกำลังกาย (นอกบ้านหรือบนลู่ไฟฟ้า) โดยให้ค่าเพซ (Pace) อยู่ในระดับกลาง
- ว่ายน้ำหรือแอโรบิกในน้ำซึ่งเป็นการออกกำลังที่ดีต่อข้อต่อ
- ปั่นจักรยานอยู่กับที่หรือจักรยานเอนปั่น
- การออกกำลังเพิ่มความยืดหยุ่นและความสมดุล
-
ยืดเหยียดร่างกายแบบเบา ๆ เพื่อการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว
-
ฝึกไทชิหรือโยคะเพื่อความสมดุลและคลายเครียด
-
คำแนะนำจากโค้ชเพื่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง
โดยทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำเป็นการออกกำลังที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม คุณ Shasikumar โค้ชฟิตเนสของนัลลูรี่ได้แนะนำเคล็ดลับในการออกกำลังกายเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บได้ ดังนี้
- เริ่มต้นอย่างช้า ๆ: จากนั้นค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินกำลังของร่างกาย
- ฟังเสียงร่างกาย: คอยสังเกตอาการไม่สบายต่าง ๆ หรือความเหนื่อยล้าของร่างกาย แล้วปรับการออกกำลังกายของตนเองตามอาการนั้น
- พักเมื่อจำเป็น: การพักระหว่างเซ็ตและระหว่างออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นตัว
- ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสม: การใช้ท่าทางและเทคนิคที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความเจ็บปวดที่เกิดจากการออกกำลังกายได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ: ดื่มน้ำก่อนออกกำลัง ระหว่างออกกำลัง และหลังออกกำลังเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
บทสรุป
การนำการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสามารถส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อย่างมาก การเลือกการออกกำลังกายที่เบาแต่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้มีโรคเรื้อรังสามารถบรรลุเป้าหมายในการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพเฉพาะของตนเองได้
ตั้งแต่การควบคุมน้ำหนัก การนอนหลับ ไปจนถึงการฟื้นฟูสุขภาพ โค้ชมากประสบการณ์ของเราจะทุ่มเทให้กับการดูแลสุขภาพของคุณและการออกกำลังกายของคุณมากพอ ๆ กับที่คุณทุ่มเท คุณสามารถจองการให้คำปรึกษาสุขภาพแบบส่วนตัวกับโค้ชสุขภาพของนัลลูรี่ แล้วเริ่มต้นดูแลสุขภาพของคุณได้เลยตั้งแต่วันนี้
หากคุณสนใจและต้องการทราบวิธีร่วมลุ้นรับรางวัลบัตรกำนัล Lululemon มูลค่าสูงสุดถึง 1,200 USD$ เพียงสมัครเข้าร่วมชาเลนจ์สุขภาพประจำเดือนพฤษภาคม (‘The Vital Flow’) ได้ทันทีตั้งแต่วันนี้ โดยเป็นไปตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่กำหนด