งานวิจัยระบุว่าช่วงเวลาที่สามารถจดจ่อกับสิ่งหนึ่งของเรากำลังลดลง ในปี 2543 เราสามารถโฟกัสได้ 12 วินาทีก่อนที่สมองของเราจะคิดไปเรื่องอื่น ภายในปี 2555 เวลาโฟกัสลดลงเหลือ 8.25 วินาที
การไม่มีโฟกัสไม่ได้เป็นปัญหาถ้างานของคุณคือเลื่อนดู Tik Tok แต่มันจะเป็นปัญหาอย่างมากถ้างานของคุณต้องใช้สมาธิแบบไม่มีอะไรมารบกวน
หลังถูกรบกวน อาจต้องใช้เวลาถึง 23 นาทีในการที่จะกลับมาโฟกัสได้ที่ระดับเดิม ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่คุณหันเหความสนใจจากเรื่องหนึ่งไปเพื่อดูโทรศัพท์หรืออีเมล หรือแย่ไปกว่านั้นคือการแบ่งโฟกัสของคุณไปทำงานหลาย ๆ งาน นั่นจะใช้เวลาที่นานขึ้นในการกลับมามีโฟกัสอีก
งานคุณภาพสูงจะเกิดขึ้นได้ถ้าคุณใช้การโฟกัสอย่างจริงจังร่วมกับใช้เวลา คุณจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากกับงานที่ต้องการการโฟกัสอย่างจริงจัง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณใช้เวลานานมากกว่าที่จำเป็นในการทำงานให้เสร็จสำหรับงานที่มีความซับซ้อน
มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าการมีสติที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้โฟกัสได้ขึ้น มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังจากการทำสมาธิเพื่อฝึกให้มีสติเพียง 10 นาที คนที่ปฏิบัติจะมีโฟกัสดีขึ้นและมีผลทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม ถ้าคุณต้องการเริ่มขั้นตอนแรกเพื่อปรับโฟกัสให้ดีขึ้น เราขอแนะนำการฝึกการมีสติง่าย ๆ ผ่านการทำสมาธิแบบมีเสียงนำสั้น ๆ ตามที่คุณต้องการ
ถ้าการทำสมาธิไม่ใช่แนวทางของคุณ คุณสามารถเพิ่มระดับการโฟกัสได้ด้วยการทำงานอดิเรกอื่น ๆ เช่นกัน ลองอ่านหนังสือ (ไม่ใช่ฟังเสียงอ่าน) หรือเนื้อหาที่มีความยาวแบบอื่น เล่นจิ๊กซอว์หรือซูโดกุ เล่นเกมฝึกความจำ หรือฝึกทำอะไรที่คุณต้องมีส่วนร่วมเต็มตัว อาทิ การเรียนภาษาใหม่หรือเครื่องดนตรีใหม่
เป้าหมายสูงสุดคือเพื่อให้มี “ภาวะลื่นไหล” หรือ “ลื่นไหล” การลื่นไหล (Flow) เป็นสภาวะจิตที่คุณเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของการโฟกัสอย่างมีพลัง มีส่วนร่วมเต็มที่ และเพลิดเพลินไปกับกระบวนการจนคุณลืมเรื่องพื้นที่และเวลา เราเข้าใจว่าคุณจะไม่สามารถปรับใช้วิธีนี้กับองค์ประกอบทุกอย่างในงานของคุณได้ แต่อาจจะมีงานบางอย่างที่ต้องใช้สมาธิมากซึ่งจะได้ประโยชน์จากการใช้วิธีนี้
เราทุกคนผัดวันประกันพรุ่งในบางครั้ง คุณคงรู้ดีถึงความรู้สึกหงุดหงิดเวลาที่ต้องเลื่อนงาน แล้วเวลาต่อมาคุณต้องเร่งรีบและทำงานล่วงเวลาเพื่อทำมันให้เสร็จในนาทีสุดท้าย การผัดวันประกันพรุ่งเกิดขึ้นด้วยหลายสาเหตุ อาจเพราะสมองของคุณต้องการสงวนพลังงาน ดังนั้นถ้าสามารถเลือกทำงานที่ง่ายกว่าก่อนได้ คุณก็จะทำ เช่น ตอบอีเมลหรือเช็คโซเชียลมีเดีย คุณอาจสังเกตว่าเวลาที่คุณต้องถูกท้าทายด้วยงานยากหรือซับซ้อน คุณมักจะใช้พลังงานไปทำความสะอาดหรือจัดระเบียบ และต้องหาของว่างทานก่อนเริ่มงาน สมองของคุณมองหาเรื่องอื่นเข้ามาแทรก
การจะสู้กับการผัดวันประกันพรุ่งนั้นคุณต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ให้ลองแบ่งงานชิ้นใหญ่เป็นเป้าหมายเล็ก ๆ ยิ่งคุณมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงและรู้ว่าผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นแบบไหน ก็จะยิ่งง่ายที่จะทำให้คุณจะอยู่กับงานและทำให้เสร็จลุล่วง ตัวอย่าง ถ้าคุณรู้ว่าต้องเขียนรายงานที่มีความยาว คุณจะต้องการแบ่งงานออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้เสร็จ เป้าหมายของวันนี้อาจจะเป็นการเขียนให้ได้ 500 คำหรือทำสไลด์ 10 หน้า ถ้ารายการงานที่ต้องทำของคุณมีเพียงงานเดียวคือ “เขียนรายงานให้เสร็จ” คุณก็มีโอกาสที่จะบอกว่าเดี๋ยวค่อยทำ
สิ่งสุดท้าย ให้ขอความช่วยเหลือ บอกเป้าหมายและวันกำหนดส่งกับผู้อื่นที่สามารถช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบต่อสิ่งนั้น ถ้าคุณชอบผัดวันประกันพรุ่ง จัดตารางพบปะเป็นประจำกับทีม หัวหน้า หรือลูกค้าของคุณ (และด้วยความกลัวที่จะทำให้เขาผิดหวัง) จะทำให้คุณทำงานต่อเนื่องไปจนเสร็จได้
การโฟกัส
บทความนี้นำเสนอโดยนัลลูรี่ นัลลูรี่ช่วยให้คุณพัฒนานิสัยไลฟ์สไตล์ที่มีสุขภาพดี บรรลุผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่มีความหมาย และมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นผ่านการโค้ชเฉพาะบุคคล โปรแกรมที่มีโครงสร้าง บทเรียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านสุขภาพ ดาวน์โหลดแอปนัลลูรี่เลยวันนี้ หรือติดต่อ hello@naluri.life สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการโค้ชสุขภาพและการบำบัดแบบดิจิทัลเพื่อเป็นตัวคุณที่มีความสุขมากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น