ข่าวสารและรายงาน - นัลลูรี่

ส่องเทรนด์สุขภาพจิตปี 2024: เจน Z สุขภาพใจย่ำแย่กว่าคนเจนอื่น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย - Naluri

เขียนโดย นัลลูรี่ - 20 ธ.ค. 2024, 4:51:00

ในปี 2025 คนรุ่นเจน Z (ผู้ที่เกิดในปี 1997-2012) จะมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเกือบ 30% ของแรงงานทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มคนในรุ่นอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกัน เจน Z กำลังเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต โดยมีถึง 6 ใน 10 คนในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งสูงกว่าคนเจนเนอเรชั่นอื่น ๆ ที่อาจจะพบปัญหาน้อยกว่านี้ 

สำหรับองค์กร ข้อเท็จจริงที่ว่าเจน Z กำลังเผชิญกับปัญหากับความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตมากกว่าคนในเจเนอเรชันอื่นนั้น ทำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของนโยบายที่ช่วยสนับสนุนสุขภาพจิตของคนในองค์กร โดยนำความต้องการและลักษณะเฉพาะของแต่ละเจเนอเรชันมาร่วมพิจารณา เช่น การช่วยเหลือด้านความแตกต่างระหว่างเจน Z, มิลเลนเนียลส์, หรือเจเนอเรชัน X เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีความกดดันและปัญหาสุขภาพจิตที่แตกต่างกัน

ในโอกาสของแคมเปญวันสุขภาพจิตโลกปี 2024 เราได้เชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วมการประเมินสุขภาพจิตที่จัดโดย Naluri เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มและสถานการณ์สุขภาพจิตที่กำลังเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชีย การประเมินนี้ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งช่วยให้เราทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันในด้านสุขภาพจิตของภูมิภาค เราพบว่าปัญหาสุขภาพจิตนั้นที่ยังคงมีอยู่ และสิ่งนี้ที่องค์กรสามารถทำเพื่อช่วยซัพพอร์ตและช่วยเหลือให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นอย่างยั่งยืน

มาตรการที่เริ่มเห็นผลเพื่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคต และปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

Naluri ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 28,000 คนใน 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และฮ่องกง โดยในปีนี้ ฮ่องกง ได้เข้าร่วมการสำรวจเป็นครั้งแรก เนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นในประเทศ ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และผลลัพธ์ความพึงพอใจในชีวิตของนักเรียนในประเทศลดลง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชากรในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นัลลูรี่ใช้แบบประเมินสุขภาพทางอารมณ์ EWA (Emotional Wellbeing Assessment) เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยบริษัทของเราเอง โดยพัฒนาแบบประเมินมาจาก GAD-7 (การประเมินความวิตกกังวลทั่วไป), PHQ-9 (การประเมินภาวะซึมเศร้า) และ DASS-21 (การประเมินความเครียด, วิตกกังวล, และภาวะซึมเศร้า) เพื่อให้การวัดผลเกี่ยวกับสุขภาพทางอารมณ์มีความครอบคลุมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และช่วยในการประเมินสุขภาพทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง

การสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้พบว่าประชากรยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพจิต แต่ก็มีสัญญาณที่ดีในบางส่วน โดยในปี 2024 พบว่า 58% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2023 แสดงให้เห็นว่าโครงการที่เกี่ยวข้องสุขภาพจิตในที่ทำงาน สร้างผลลัพธ์ไปในทางที่ดี เพราะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของคนในองค์กรและทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพจิต

ถึงแม้ว่าผลสำรวจออกมาประชากรจะปรับตัวดีขึ้นในบางส่วน แต่ยังคงมีเรื่องที่ต้องได้รับการดูแล โดยเฉพาะปัญหาภาวะหมดไฟจากการทำงาน หรือ (burnout) จนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งส่งผลเสียต่อองค์กรโดยรวมและอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลในอนาคต ในความเป็นจริง ผลลัพธ์จากผลกระทบด้านปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล คาดว่าน่าจะเกิดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2030 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์กรต้องหันมาตระหนักในการหาทางแก้ไขและช่วยเหลือพนักงานด้านสุขภาพจิต เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่างเป็นภาระทางเศรษฐกิจที่หนักขึ้นในอนาคต

ภาพรวมและแนวโน้มของปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย

ปัญหาด้านสุขภาพจิตในแต่ละประเทศในเอเชียมีลักษณะและความรุนแรงที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลาย ดังนั้น กลยุทธ์หรือวิธีการในการดูแลสุขภาพจิตในแต่ละพื้นที่ต้องได้รับการออกแบบและปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์และปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและลดปัญหาสุขภาพจิตในแต่ละบริบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากผลสำรวจพบว่า

  • ประเทศฟิลิปปินส์ (68%) ฮ่องกง (59%) และสิงคโปร์ (59%) มีสัดส่วนของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด ในขณะที่ประเทศไทย (38%) มีสัดส่วนของผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ 

ซึ่งมาจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ (เช่น สภาพคล่องทางการเงิน หรือสถานการณ์เศรษฐกิจในแต่ละประเทศ) และค่านิยมทางวัฒนธรรม (เช่น ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลจากวัฒนธรรม) มีอิทธิพลอย่างมากต่อผลลัพธ์หรือสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตในแต่ละประเทศ การเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนพนักงานได้ตามบริบทของแต่ละประเทศ ทั้งในด้านการดูแลสุขภาพจิตและการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเฉพาะขององค์กรและวัฒนธรรมในพื้นที่นั้น ๆ

ประเทศมาเลเซีย: การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีความสำคัญกับการตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพจิต  

ในประเทศมาเลเซีย 51% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยอัตราความเสี่ยงสูงนี้ลดลง 11% เมื่อเทียบกับ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการด้านสุขภาพจิตในประเทศ เช่น การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์และแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยให้ประชากรสามารถขอรับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตได้สะดวกและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น  

แม้ว่าจะมีการพัฒนาในการจัดการปัญหาสุขภาพจิตในมาเลเซีย แต่ก็ยังคงมีความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ในเมืองหลวงที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทำให้การรักษาความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ เยาวชนในมาเลเซียยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

ผลสำรวจในเชิงบวกในด้านสุขภาพจิตสามารถอธิบายได้จากยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพจิตและการต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงการดูแลโดยใช้แพลตฟอร์มการปรึกษาทางโทรศัพท์และสายด่วน เช่น Talian Kasih ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลก็มีส่วนช่วยพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนด้วยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงานและความมั่นคงทางการเมืองก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีขึ้นในประเทศ 

แม้จะเห็นผลลัพธ์ที่ดีเรื่องผลลัพธ์ ว่าจะมีความก้าวหน้าในด้านการปรับปรุงสุขภาพจิตในมาเลเซีย แต่ยังคงมีความท้าทายที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทำให้ความไม่สมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเพิ่มความเครียดให้กับผู้คน นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ในมาเลเซียยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ซึ่งทำให้สุขภาพจิตของพวกเขาย่ำแย่ลงมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าชาวสิงคโปร์จะมีการพัฒนาในด้านการดูแลสุขภาพจิต แต่ปัญหาความเหนื่อยล้าจากการทำงานสู่ภาวะหมดไฟ (Burnout) ยังคงเป็นปัญหาในระดับประเทศ 

ภาพรวมของสุขภาพจิตในสิงคโปร์มีความซับซ้อน แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 59% มีความเสี่ยงสูงกับปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็มีการพัฒนาที่ดีขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่จำนวนมาก แต่ก็มีการพัฒนาในด้านการดูแลและการสนับสนุนเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้บ้าง

การพัฒนาด้านสุขภาพจิตในสิงคโปร์เป็นผลมาจากโครงการต่างๆ เช่น โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในวัยทำงาน โครงการระดับประเทศอย่าง "Beyond the Label" ที่ส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต และการให้บริการดูแลสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น สายด่วนและการให้คำปรึกษาผ่านแชท นอกจากนี้ โครงการ "Healthier SG" ของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและยังดูแลด้านสุขภาพจิตผ่านแผนสุขภาพส่วนบุคคลด้วย ซึ่งครอบคลุมการประเมินสุขภาพจิตสำหรับประชาชนทุกคนในสิงคโปร์

แม้ว่าสิงคโปร์จะการพัฒนาในการส่งเสริมสุขภาพจิต แต่ยังคงมีปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าจากการทำงานสู่ภาวะหมดไฟ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดงานที่สูง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวง่ายเป็นพิเศษ ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการเงินและสังคมที่คาดหวังว่าจะต้องประสบความสำเร็จในชีวิต รวมถึงความการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และการบูลลี่รูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้มักเกิดขึ้นเพราะใช้สื่อสังคมออนไลน์มากเกินไป ทำให้สุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ยิ่งย่ำแย่ลง

ชาวอินโดนีเซีย: มีพัฒนาและตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต แต่ประชากรบางส่วนก็ยังมีช่องว่างในการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิต

ประเทศอินโดนีเซียมีการพัฒนาอย่างมากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะผลลัพธ์จากผู้ตอบแบบสอบถามจะมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาสุขภาพจิตถึง 56% แต่การพัฒนานี้สะท้อนถึงสุขภาพจิตที่ดีขึ้นถึง 17% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการต่างๆและความพยายามในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในประเทศนั้นได้ผลดีขึ้น

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตในที่ทำงานนั้นกำลังขยายตัว โดยการใช้ โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Programs หรือ EAPs) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงกาดูแลด้านสุขภาพจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ การให้คำแนะนำและการบำบัดต่าง ๆ ในกรณีที่พนักงานเผชิญกับความเครียดหรือปัญหาทางจิตใจ โปรแกรมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพนักงานสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีสุขภาพจิตดี

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดให้ รัฐวิสาหกิจ (BUMNs) ต้องดำเนินการเกี่ยวกับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตในองค์กรของตนเอง เพื่อให้การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญในทุกภาคส่วนของสังคม โดยหลายองค์กรรัฐวิสาหกิจได้เริ่มนำโปรแกรมเหล่านี้มาใช้แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพจิตของพนักงานและความยั่งยืนขององค์กร 

ความพยายามในการพัฒนาสุขภาพจิตในอินโดนีเซียมีหลายโครงการที่มุ่งเน้นทั้งการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมและการยุติการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ป่วยจิตเวช ตัวอย่างเช่น โครงการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่มุ่งพัฒนาทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและให้ความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตในระดับต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งยังมี โครงการ "Indonesia Free from Pasung" ซึ่งมีเป้าหมายในการยกเลิกการใช้โซ่กับผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ทารุณและไม่เหมาะสมต่อผู้ที่ประสบปัญหาทางจิต โครงการนี้พยายามที่จะยกเลิกเรื่องดังกล่าวในระบบการดูแลสุขภาพจิตของประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเหมาะสม

แม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนาในการดูแลสุขภาพจิตในอินโดนีเซีย แต่ยังคงมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตยังคงไปไม่ถึงเนื่องจากมีอุปสรรคทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ ที่ทำให้การจะนำแผนพัฒนาสุขภาพจิตเผยแพร่ไปยังพื้นที่ดังกล่าวเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง

นอกจากนี้ อคติทางวัฒนธรรม ที่ฝังรากลึกในสังคมซึ่งยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตของคนในประเทศ นอกจากนี้หลายคนยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและอาจรู้สึกไม่สบายใจหรือกลัวที่จะเข้ารับการรักษา เพราะมองว่าการได้รับการรักษาเรื่องดังกล่าวเป็นการแสดงความอ่อนแอหรือเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดถึงในสังคม จึงเป็นเหตุผลทำให้บางคนไม่เข้าไปรับการรักษาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่งผลให้การดูผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องยากขึ้น

ประเทศไทย: เป็นผู้นำในการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพจิต

ประเทศไทยมีอัตราผู้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยมีเพียง 38% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เสี่ยง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ในการดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงการมีให้ควมรู้เพิ่มเติมในโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เพื่อช่วยสนับสนุนสุขภาพจิตของเยาวชนให้ดีขึ้น

ความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพจิตจากการดำเนินการตาม แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพจิตอย่างครบวงจรและเน้นการดูแลในระยะยาว โดยการ เน้นการดูแลเชิงป้องกัน ที่ช่วยให้ประชากรในประเทศสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และการ จัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการในโรงเรียน ซึ่งช่วยให้เยาวชนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง รวมทั้งสามารถรับรู้และเข้าใจปัญหาสุขภาพจิตได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ ให้บริการแบบบูรณาการในศูนย์สุขภาพชุมชน เข้ากับระบบดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ช่วยให้การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องแยกจากการดูแลสุขอนามัยทั่วไป และการมี อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพจิตในระดับชุมชน ทำให้ประชากรในพื้นที่ห่างไกลมีดอกาสในการเข้าถึงบริการต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบสุขภาพจิต แต่ยังคงมีอุปสรรคของการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตอยู่ เช่น การขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งทำให้การให้บริการดูแลสุขภาพจิตยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชากรได้ทั้งหมดได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่อง ความกดดันทางเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพสูง หรือการขาดทรัพยากรที่เพียงพอในการดำเนินการด้านสุขภาพจิต ก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเข้าถึงบริการยังไม่ทั่วถึง

นอกจากนี้ อคติทางวัฒนธรรม ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายคนยังไม่กล้าเข้ารับการรักษาหรือพูดถึงปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากความเชื่อทางสังคมที่อาจมองว่าการมีปัญหาทางสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่น่าอับอายหรือผิดปกติ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อ สร้างระบบสุขภาพจิตที่ง่ายต่อการเข้าถึงได้ สำหรับทุกคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างการศึกษาด้านสุขภาพจิต หรือการพัฒนาโครงการต่างๆเพื่อดูแลสุขภาพจิต และสามารถตอบสนองทุกความต้องการของประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชาวฟิลิปปินส์: มีอัตราเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แต่มีศักยภาพในการสร้างให้ความรู้กับประชากรในช่วงที่ผ่านมา

ฟิลิปปินส์มีอัตราผู้เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพจิตสูงสุดในปีนี้ที่ 68% แต่อย่างไรก็มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเนื่องจากผลสำรวจในปีนี้ ลดลง 14% จากปี 2022 ปัจจัยที่มีผลต่อการลดความเสี่ยงนี้ ได้แก่ แคมเปญ #MentalHealthPH ที่เพิ่มการตระหนักรู้และบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ที่ช่วยลดความเครียดและให้การสนับสนุนแก่ชาวฟิลิปปินส์

ปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสุขภาพจิตในฟิลิปปินส์ ได้แก่ โครงการรณรงค์ #MentalHealthPH, ซึ่งเป็นความพยายามในการเพิ่มการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและลดช่องว่างจากการขอความช่วยเหลือในเรื่องสุขภาพจิต โดยการดูแลประชากให้เข้าถึงบริการที่นี้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมี บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ซึ่งช่วยให้ชาวฟิลิปปินส์สามารถขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยไม่ต้องออกไปพบผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตในสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นทางลัดในการช่วยให้เข้าถึงบริการได้อย่างมาก 

อีกปัจจัยสำคัญคือ โครงการสนับสนุนระดับรากหญ้า ที่ช่วยส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดีให้กับคนในประเทศว่าการขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่สิ่งที่น่าหลีกเลี่ยงหรืออายเลย อีกทั้ง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ก็ช่วยลดความเครียดทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ประชาชนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ในที่สุด

แม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนาบริการสุขภาพจิตในฟิลิปปินส์ แต่ พื้นที่ห่างไกล ยังคงเผชิญกับ ช่องว่างในการให้บริการ ซึ่งหมายความว่าคนในพื้นที่เหล่านี้ยังคงมี การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่จำกัด เนื่องจากการขาดแคลน ผู้เชี่ยวชาญ และการขาดนโยบายที่สนับสนุนให้ประชากรกลุ่มนี้ได้รับความรู้และบริการดังกล่าว

นอกจากนี้ ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ และ ความไม่สงบทางการเมือง ยังคงส่งผลกระทบต่อระดับความเครียดของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีความเปราะบาง เช่น ชาวรากหญ้า หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง การขาด นโยบายสุขภาพจิตมาสนับสนุน และ การขาดแคลนบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญ จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตในระดับท้องถิ่น

อีกทั้ง ผลกระทบจากมลพิษ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความเครียด และ สุขภาพจิต ของประชาชนอีกด้วย ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมี การต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อที่จะจัดการกับปัญหานี้และเพื่อพัฒนาด้านบริการสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น

เวียดนาม: กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

เวียดนามยังคงประสบปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรง โดย 57% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคงมีความเสี่ยงสูง ซึ่งสะท้อนถึงให้เห็นถึงอุปสรรคในการจัดการกับสุขภาพจิตที่ยังคงมีอยู่ แม้จะมีความพยายามในการพัฒนา แต่ก็ยังคงมีความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ในการช่วยให้ประชากรเข้าถึงการดูแลสุขภาพจิตและการลดความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

โปรแกรมระดับชาติ ที่มุ่งเน้นการ ส่งเสริมสุขภาพจิตของเยาวชน และการ ป้องกันการฆ่าตัวตาย กำลังได้รับความสนใจมากในเวียดนาม โดยมี โครงการท้องถิ่น เช่น การรณรงค์ "Open Up & Connect" โดย UNICEF เวียดนาม ซึ่งช่วยในการ เพิ่มความตระหนัก เกี่ยวกับสุขภาพจิตและ ส่งเสริมการสนับสนุน สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต

โปรแกรมและการรณรงค์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการ เพิ่มการเข้าถึงบริการ การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตให้กับเยาวชน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พวกเขาต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาชีวิตในวัยรุ่น เช่น การเผชิญกับแรงกดดันทางสังคมและการศึกษา ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตหรือ ภาวะซึมเศร้า และ การฆ่าตัวตาย โครงการดังกล่าวจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนัก และส่งเสริมให้ชาวเวียดนามเปิดใจ และเข้ารับการรักษาด้านจิตใจเมื่อพวกเขามีปัญหา

การไม่มีนโยบายด้านสุขภาพจิต ที่ชัดเจนและ การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตใน พื้นที่ชนบท นั้นเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ผลกระทบจากมลพิษ ที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลให้ ระดับความเครียด ของประชากรสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงยิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นใน การต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและในกลุ่มประชากรที่เปราะบางที่อาจไม่ได้รับการดูแลที่ทั่าถึง ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพจิต และ เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต ในพื้นที่ดังกล่าว

ฮ่องกงยังคงเผชิญกับความเสี่ยงสูงด้านสุขภาพจิต โดยได้รับผลกระทบจากแรงกดดันทางสังคมและการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้สุขภาพจิตของประชากรแย่ลง

ในปีนี้ ฮ่องกงมีประชากรที่เสี่ยงสูงด้านสุขภาพจิตถึง 59% ซึ่งเกิดจากความเครียดจากปัญหาทางการเงินและปัญหาทางสังคมและการเมือง สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชากรในฮ่องกง ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์

เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตที่ทวีความรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ มีการดำเนินโครงการต่างๆ เช่นตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่ผลักดันนโยบายที่มีความเข้มแข็งและครอบคลุม เพื่อให้การดูแลสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลและองค์กรต่างๆ รวมถึงโครงการ Healthy Mind Pilot Project ที่มุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการประเมินสุขภาพจิตฟรี ซึ่งช่วยให้ประชาชนรับรู้และดูแลสุขภาพจิตของตัวเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทยังเริ่มนำโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (EAPs) มาใช้ในที่ทำงานเพื่อช่วยลดความเครียดและดูแลสภาพจิตใจของพนักงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิตโดยรวมของคนในองค์กรอีกด้วย

แม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนานโยบายและโครงการด้านสุขภาพจิต แต่ยังคงมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะในด้านความเครียดทางการเงินที่เกิดจากค่าครองชีพที่สูงและปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นภาระที่หลายคนต้องแบกรับ นอกจากนี้เหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคมและการเมืองยังคงสร้างความวิตกกังวลและสร้างความเครียดเรื้อรังให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน และต้องพยายามที่จะยืนหยัดละสร้างความมั่นคงให้ชีวิตของตัวเอง ในขณะที่เผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมเหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขาอย่างรุนแรง

เจน Z (Generation Z) กำลังเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพจิตมากที่สุดในปัจจุบัน ในขณะชาวมิลเลนเนียลส์ (Millennials) ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

ในทุกประเทศที่ทำการสำรวจ เจน Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997–2012) ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพจิตสูงที่สุด โดยมี 66% ของกลุ่มนี้ที่มีอาการเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต แม้ว่าจะมีการพัฒนาในด้านการดูแลสุขภาพจิตและมีความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่ดีขึ้นในปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วนในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต

คนรุ่น Millennials (เกิดระหว่างปี 1981-1996) กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตในอัตราที่สูง โดยมีถึง 48% ที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล ส่วนคนรุ่น Gen X (เกิดระหว่างปี 1965-1980) ดูเหมือนจะสามารถรับมือกับปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ดีขึ้น โดยมีเพียง 28% ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ซึ่งแสดงถึงความแตกต่างในลักษณะการรับมือกับปัญหาทางจิตใจระหว่างคนรุ่นที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน โดยอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียดจากการทำงานหรือความกดดันจากชีวิตส่วนตัว

ด้านล่างนี้การแบ่งระดับความเสี่ยงทางสุขภาพจิตตามแต่ละรุ่นในแต่ละประเทศ: การวิเคราะห์และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงที่แต่ละกลุ่มอายุหรือเจเนอเรชัน

 

ทำไมเจน Z จึงเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มเจเนอเรชั่นอื่น ๆ

เจน Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1997–2012) เผชิญกับความเครียดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในช่วงเริ่มต้นของวัยทำงาน เช่น ความกดดันในการหางานหรือเริ่มต้นอาชีพ รวมถึงความคาดหวังจากสังคมในด้านต่างๆ เช่น ความสำเร็จทางการเงิน หรือความคาดหวังที่สูงในการบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ นอกจากนี้ การเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลที่ไม่หยุดนิ่งและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ยังทำให้เกิดความเครียดจากการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น หรือการรับแรงกดดันจากการแสดงตัวตนในโลกออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเจน Z

ในโลกดิจิทัลและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวันสามารถเพิ่มความเครียดให้กับผู้ใช้ได้ เนื่องจากมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการติดต่อผ่านออนไลน์กันตลอดเวลา ทำให้ไม่มีการแบ่งแยกชัดเจนระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว สิ่งนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการรักษาสมดุลชีวิตการทำงาน ทำให้คนรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดมากขึ้น การทำงานที่ต้องการผลลัพธ์ที่ดีออกมาอย่างรวดเร็วและการโอ้อวดจากในโลกออนไลน์ตลอดเวลาจะส่งผลให้ความเคารพตัวเอง (self-respect) และสุขภาพจิตเสียหายได้ เพราะขาดการพักผ่อนและฟื้นฟูทั้งในแง่ของร่างกายและจิตใจ

ความไม่มั่นคงทางการเงินก็เป็นปัจจัยที่สร้างความเครียดให้กับคนรุ่นเจน Z เพราะต้องการสร้างฐานะและความมั่นคงทางการเงิน แต่เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ คนรุ่นเจน Z ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัย การศึกษา และการดูแลสุขภาพ ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่แน่นอนในชีวิตในขณะที่กำลังเริ่มต้นเส้นทางอาชีพ การที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงินเหล่านี้ทำให้คนรุ่นเจน Z รู้สึกถึงความท้าทายและอาจทำให้มองไม่เห็นความก้าวหน้าในชีวิตและรู้สึกว่าความสำเร็จเป็นเรื่องที่ยากเกินจะเอื้อม

ชาวมิลเลนเนียลส์: เจนเนอเรชั่นแห่งการเป็นเดอะแบก ที่ต้องดูแลทั้งลูกเล็กและพ่อแม่สูงวัย

ชาวมิลเลนเนียลส์ต้องรับมือกับภาระทางการงานและครอบครัวพร้อมๆกัน เช่น การเลี้ยงดูลูกและดูแลพ่อแม่ที่สูงวัย ซึ่งทำให้เกิดความเครียดจากการจัดสรรเวลาและพลังงานในการรับผิดชอบทั้งสองด้าน แม้จะก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่การก็ยังมีปัญหาเรื่องการเงินด้วย ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความเครียดที่สูง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขา

ชาวมิลเลนเนียลส์ ต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนในการหาสมดุลระหว่างการสร้างอาชีพและการรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น การเลี้ยงดูลูกเล็กและการดูแลพ่อแม่ผู้สูงอายุ ความรับผิดชอบเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องรับภาระที่มากขึ้นในขณะที่พยายามสร้างความมั่นคงทางการเงินและชีวิตที่ดีในยุคที่มีเศรษฐกิจและสังคมมีความไม่แน่นอน การหาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่โดยรวมของชาวมิลเลนเนียลส์ในปัจจุบัน

ชาวมิลเลนเนียลส์ในเอเชียกำลังเผชิญกับปัญหาทางการเงิน โดยมีปัจจัยหลายประการที่สร้างแรงกดดันในชีวิต เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น, หนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ, และเงินเดือนที่ไม่ได้ปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ยังมีความไม่มั่นคงในสถานการณ์การทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เสถียรและความไม่มั่นคงในอาชีพการงาน ซึ่งส่งผลต่อความเครียดและสุขภาพจิตของพวกเขา เนื่องจากต้องรับมือกับการวางแผนทางการเงินในระยะยาวและการรักษาความมั่นคงทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัว

สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำ ความกดดันที่มาพร้อมกับบทบาทเหล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องรับผิดชอบทั้งการตัดสินใจที่สำคัญในองค์กรและการดูแลทีมงาน พร้อมทั้งต้องจัดการกับความคาดหวังสูงจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและอาชีพของพวกเขา เนื่องจากต้องหาสมดุลระหว่างงานที่มีความสำคัญและชีวิตส่วนตัวที่ต้องดูแล ซึ่งอาจเพิ่มระดับความเครียดและทำให้เกิดความท้าทายในการรักษาสุขภาพจิตที่ดี

ส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงานในสถานที่ทำงาน

องค์กรต่างๆมีส่วนในความรับผิดชอบในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดีของพนักงาน โดยการส่งเสริมพื้นที่ปลอดภัยทางด้านจิตใจในที่ทำงาน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม นายจ้างยังต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายด้าน เช่น การช่วยพนักงานจัดการกับน้ำหนักที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต, การควบคุมอารมณ์ในที่ทำงาน, และการจัดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในองค์กร

ปัญหาส่วนบุคคลที่พบบ่อย

  • การจัดการน้ำหนักและสุขภาพโดยรวม
  • การพัฒนาทักษะในการควบคุมอารมณ์
  • การเอาชนะปัญหาและการสร้างความมั่นใจในตัวเอง

 

ปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่พบบ่อย

  • ปัญหาในความสัมพันธ์เรื่องความรัก
  • ปัญหาในเรื่องครอบครัว

 

ปัญหาที่ทำงานที่พบบ่อย 

  • การหาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว และการหลีกเลี่ยงการหมดไฟในการทำงาน
  • การรับมือกับความไม่ก้าวหน้าทางอาชีพ
  • การจัดการปัญหาเรื่องแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
  • การจัดการความขัดแย้งในที่ทำงาน

ปัญหาต่างๆที่พนักงานต้องเผชิญในการจัดการความเครียดและภาระต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสุขภาพทางกาย สุขภาพใจ และอารมณ์ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเป็นอยู่ของพนักงานในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน เมื่อพนักงานเผชิญกับความเครียดจากเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว การหาสมดุลระหว่างทั้งสองส่วนยากขึ้น การดูแลสุขภาพจิตที่ดีจึงมีความสำคัญในการดูแลทุกด้าน ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การลดความเสี่ยงจากการขาดงาน และการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพนักงาน

แล้วบริษัทสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและสนับสนุนพนักงานในการเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ได้โดยการใช้เทคนิคใด?

ชวนมารู้จักการเทคนิคใช้ Influence Model เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและพฤติกรรมของพนักงานเพื่อใส่ใจกับสุขภาพจิตอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่การสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมายสามารถทำได้ หากองค์กรสามารถนำแผนการมารับมือกับเรื่องดังกล่าว โดยการใช้ โมเดลที่ทรงอิทธิพลของ McKinsey ซึ่งกำหนดสี่ขั้นตอนสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและสนับสนุนสุขภาพจิตในที่ทำงาน ขั้นตอนเหล่านี้ได้แก่:

  • การเป็นแบบอย่าง: ผู้นำหรือผู้บริหารควรแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพจิตโดยการดูแลตัวเองและส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงาน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเห็นความสำคัญและปฏิบัติตาม
  • การสร้างความเข้าใจ: สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตให้กับพนักงานและผู้บริหาร เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญและผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
  • การพัฒนาศักยภาพ: การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะในการจัดการความเครียด การสื่อสารที่ดี และการสนับสนุนสุขภาพจิต ทั้งในระดับบุคคลและทีม
  • การเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านนโยบายและระบบความรับผิดชอบ: การจัดตั้งนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสนับสนุนสุขภาพจิตและการมีระบบที่โปร่งใสในการติดตามผล เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าองค์กรใส่ใจและมีมาตรการที่สามารถปฏิบัติตามได้

การทำเช่นนี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในด้านสุขภาพจิตในที่ทำงาน ทั้งในเชิงการพัฒนาแนวทางการดูแลและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตรต่อสุขภาพจิตของพนักงานทุกคน

แนวทางที่คนในองค์กรสามารถทำร่วมกันได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีด้านสุขภาพจิตในระยะยาว

ปี 2024 เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากการนำกลยุทธ์ที่เน้นการดูแลสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานมาใช้นี้ จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านการลดปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการขาดงานหรือการลาหยุดเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการหมดไฟจากการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมและต้นทุนขององค์กรในระยะยาว

การลงทุนเพื่อดูแลสุขภาพจิตของพนักงานไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น แต่ยังสามารถเสริมสร้างความพึงพอใจในการทำงานและความจงรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสำเร็จกับธุรกิจของคุณได้ในระยะยาว

หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Naluri สามารถช่วยสนับสนุนองค์กรของคุณในการส่งเสริมสุขภาพจิตในที่ทำงานได้อย่างไรบ้าง คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Program) ผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของนัลลูรี่ หรือพูดคุยกับทีมขายของเราเพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรคุณ การสนับสนุนนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถดูแลพนักงานให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น