Skip to content
stress-overworked-and-headache-with-businessman-m-2023-11-27-05-35-51-utc
นัลลูรี่< 1 min read

สาม ‘ภาวะ’ ที่กระทบเงินในธุรกิจของคุณ

ในฐานะผู้ว่าจ้าง สุขภาพของพนักงานมีอิทธิพลอย่างมากต่อรายได้สุทธิ ค่าใช้จ่ายบางชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับพนักงานที่สุขภาพไม่ดีนั้นจะเห็นได้ชัดเจนมากกว่า อาทิ จำนวนวันลาป่วย และเบี้ยประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นของบริษัทอันสืบเนื่องมาจากการรักษาทางการแพทย์และการใช้ยา

อย่างไรก็ตาม ควรมีการพิจารณาค่าใช้จ่ายที่มองเห็นได้น้อยกว่าด้วยเช่นกัน ในยามที่พนักงานมาทำงานแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเนื่องจากเป็นหวัด มีโรคเรื้อรัง หรือมีปัญหาสุขภาพจิต ระดับประสิทธิภาพที่ลดลงนี้ส่งผลกระทบกับธุรกิจได้เช่นกัน

โดยสามารถระบุว่าเป็นพนักงานประเภทใดประเภทหนึ่งจาก 3 ประเภทดังนี้ คนที่ไม่เคยปรากฎตัว คนที่มีภาวะหมดไฟและทำงานหนัก และคนที่ไม่สามารถหยุดพักได้

ในบทความนี้ เราเจาะลึกใน 3 ‘ภาวะ’ ที่ผู้นำต้องรู้ ภาวะที่ส่งผลกระทบทางการเงินกับธุรกิจและการหาวิธีทำให้เกิดขึ้นน้อยลงในสถานประกอบการ

 

ภาวะขาดงาน (Absenteeism)

‘ภาวะ’ แรกคือภาวะขาดงาน เป็นการที่พนักงานลางานเป็นประจำโดยไม่มีเหตุผลสมควร แม้ว่าการลางานของพนักงานที่มีเหตุผลมาจากความเจ็บป่วย พักร้อน หรือลาหยุดฉุกเฉินเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่การขาดงานบ่อย ๆ และไม่ได้วางแผนล่วงหน้ามักก่อให้เกิดความกังวล

เหตุผลของภาวะขาดงาน ได้แก่ ไม่พึงพอใจในงาน ขาดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว สิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นพิษ หรือความยากลำบากส่วนตัว รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต

อย่างไรก็ตาม การกีดกั้นไม่ให้อิสระภาพแก่พนักงานในการลาหยุดเนื่องจากเจ็บป่วยและมีเหตุฉุกเฉินสามารถทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจของคุณได้เช่นกัน ถ้าพนักงานมีความกังวลเกี่ยวกับเสียงวิจารณ์ การไม่ได้รับค่าตอบแทน หรือความมั่นคงในงาน จะกลายเป็นว่าผู้ว่าจ้างสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการฝืนมาทำงานขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าการลาป่วย

 

ภาวะการฝืนมาทำงาน (Presenteeism)

‘ภาวะ’ ที่สองคือภาวะการฝืนมาทำงาน โดยหมายถึงสถานการณ์ที่พนักงานมาทำงานในขณะที่ยังป่วยทางกายหรือจิตใจ แม้ว่าบางคนคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ ‘มุ่งทำงานต่อไป’ ในความเป็นจริงคือมันนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ลดลง คุณภาพการทำงานที่ลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของสมาชิกผู้อื่นในทีม

ภาวะการฝืนมาทำงานเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ความไม่มั่นคงในงาน ปริมาณงานที่หนัก ขาดแรงจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่สนับสนุนให้พนักงานใช้วันลาป่วย

แตกต่างจากภาวะขาดงานซึ่งเป็นภาวะที่มีความชัดเจนว่าพนักงานไม่อยู่ที่ทำงาน การติดตามและวัดผลภาวะการฝืนมาทำงานนั้นยากกว่า แม้ว่าบริษัทมีการติดตามจำนวนวันลาป่วยของพนักงาน

ภาวะลาหยุดเพื่อสะสางงาน (Leavism)

และภาวะสุดท้ายคือภาวะลาหยุดเพื่อสะสางงาน Leavism เป็นคำที่ถูกใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดย ดร. เอียน เฮสเคส (Dr. Ian Hesketh) เป็นคำที่ใช้บรรยายพนักงานที่ลางานโดยมักจะใช้วันลาหยุดประจำปีเพื่อทำงานในขณะที่เขาควรจะหยุดพักผ่อน มันอาจเกิดขึ้นแบบง่าย ๆ อย่างการมีโทรศัพท์เรื่องงานเข้ามาในช่วงลาพักร้อนหรือการเคลียร์อีเมลในขณะที่ตั้งสถานะไว้ว่า OOO (out-of-office) หรือไม่อยู่ออฟฟิศ

พนักงานที่แสดงพฤติกรรมเช่นนี้มักจะเกิดจากปริมาณงานหนัก ความรู้สึกทางความมั่นคงในงาน หรือในยามที่พนักงานมองเส้นแบ่งเขตระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวไม่ชัดเจน

เมื่อมองโดยผิวเผิน ภาวะลาหยุดเพื่อสะสางงานอาจดูไม่ได้เป็นปัญหาเพราะมันอาจนำไปสู่ประสิทธิภาพและผลผลิตที่มากขึ้น แต่ในความเป็นจริง คุณภาพของงานจะลดลงในเวลาต่อมาเพราะพนักงานจะมีโอกาสทำผิดและมีข้อผิดพลาดมากขึ้น นั่นเป็นเพราะพนักงานไม่เพียงมีเวลาผักผ่อนและเติมพลังได้น้อยสำหรับการกลับมาทำงาน แต่ยังเป็นเพราะพวกเขาจะไม่ได้โฟกัสเต็มที่ในงานที่ทำในระหว่างหยุดพักร้อน

 

สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ฉลาดขึ้นไม่ใช่หนักขึ้น

ตามข้อมูลแมคคินซีย์ ภาวะหมดไฟกำลังมีเพิ่มขึ้นในเอเชีย โดยมีคนทำงาน 1 ใน 3 คนมีอาการภาวะหมดไฟ เมื่อเทียบกับอัตราของโลกซึ่งอยู่ที่ 1 ใน 4

และการที่พนักงานมีภาวะหมดไฟ ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตของเขาแต่ยังกระทบกับบุคคลรอบตัวด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น บริษัทจะต้องแบกรับการลดลงทั้งในส่วนประสิทธิภาพในที่ทำงานและความพึงพอใจของพนักงาน

Based on the Naluri Mental Health Dataset 2023

ตามชุดข้อมูลสุขภาพจิตโดยนัลลูรี่ปี 2566 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าอย่างน้อยเดือนละครั้งเขาไม่ได้ทำงานในเวลาที่ควรทำงาน ประสิทธิภาพที่หายไปนี้แปลงเป็นความเสียหายทางต้นทุนที่ยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจ ในสิงคโปร์ มีงานวิจัยจัดทำขึ้นโดย Duke-NUS Medical School ได้พบว่าภาวะการฝืนมาทำงานอาจมีผลต่อต้นทุนในระดับ $1.21 หมื่นล้านต่อปี 

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทจะหยุดปัญหาที่เพิ่มขึ้นในที่ทำงานได้อย่างไร นี่คือวิธี:

 

สนับสนุนให้พนักงานลางาน 

ในฐานะผู้ว่าจ้าง สิ่งสำคํญที่ควรทำคือสนับสนุนให้พนักงานลาหยุดเพื่อพักและเติมพลัง ไม่ว่าพวกเขาจะไม่สบายหรือยุ่ง ๆ ในบางสัปดาห์ เตือนพวกเขาว่าให้ใช้วันลาพักร้อนหรือลาป่วยแทนที่จะ ‘ทำงานมากไป’

พนักงานหลายคนรอจนเกิดภาวะหมดไฟก่อนที่จะใช้วันลา ดังนั้นให้ตรวจเช็คทีมของคุณเพื่อดูว่าพวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง สามารถทำในรูปแบบตัวต่อตัวหรือสนับสนุนให้ทีมของคุณทำแบบประเมินภาวะหมดไฟ ในทุก ๆ 2-3 สัปดาห์

 

ทำการสำรวจแบบสั้น (Pulse Survey)พนักงานเป็นประจำ 

การทำแบบสอบถาม Pulse Survey จากพนักงานแบบไม่ออกนามและทำเป็นประจำไม่เพียงให้อินไซท์ว่าบริษัททำด้านใดได้ดีแต่ยังจะบอกให้เห็นว่ายังขาดอะไรอยู่ด้วย มันจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานและในท้ายที่สุดทำให้ลดอัตราการลาออกของพนักงาน

 

มีโปรแกรมเวลเนสที่ครอบคลุมสำหรับพนักงาน

เพื่อให้พนักงานไม่เพียงแค่มีประสิทธิภาพแต่ยังมีความรู้สึกมีความสุขดี บริษัทต้องนำโปรแกรมเวลเนสที่ครอบคลุมไปใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานแต่ละคน

ให้บริการโปรแกรมไปอีกขั้นและใช้แนววิธีเวลเนสแบบองค์รวมเพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพของพนักงานในแต่ละด้านได้รับการดูแล โปรแกรมช่วยเหลือพนักงานของนัลลูรี่ ใช้ทีมโค้ชสุขภาพจากสหวิชาชีพ ได้แก่ โค้ชสุขภาพจิต โค้ชฟิตเนส นักกำหนดอาหาร และโค้ชอาชีพและที่ทำงาน เพื่อวางแผนสุขภาพเฉพาะบุคคลให้กับพนักงานแต่ละราย

 

สรุป

สิ่งสำคัญคือต้องมีการทบทวนกระบวนการและเตรียมกระบวนการให้พร้อมเพื่อให้ธุรกิจสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกด้านสุขภาพและสุขภาวะสำหรับพนักงานเพื่อหยุดการเพิ่มขึ้นของภาวะขาดงาน ภาวะการฝืนมาทำงาน และภาวะลาหยุดเพื่อสะสางงาน

ถ้าคุณต้องการอินไซท์เพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพจิตของพนักงานและเคล็ดลับที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับผู้นำและผู้จัดการเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในการเปลี่ยนแปลงสถานประกอบการ ดาวน์โหลดอินไซท์จากการอภิปรายโต๊ะกลม CHRO กับนัลลูรี่ และจุลสารงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของพนักงาน