Skip to content
Feeling Stuck in Your Career_ Here’s My Advice as a Career Coach
นัลลูรี่1 min read

คุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถก้าวหน้าในสายอาชีพของตัวเองอยู่หรือเปล่า? นี่คือคำแนะนำจากโค้ชผู้เชี่ยวชาญจากนัลลูรี่

สวัสดีค่ะ ฉันคือ ลิเดีย พล็อตกีนา โค้ชผู้เชี่ยวชาญจากนัลลูรี่ ถ้าคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ อาจจะรู้สึกว่าความก้าวหน้าในสายอาชีพของคุณยากเกินไปใช่ไหม? ชีวิตการทำงานบางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกติดขัดหรือสงสัยว่าเราควรเดินต่อไปทางไหนดี หรืออาจรู้สึกว่าเรายังทำได้ไม่เต็มที่ แต่เชื่อเถอะค่ะ นี่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น และคุณไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นี้คนเดียวแน่นอน

ฉันได้ทำงานร่วมกับคนจำนวนมากที่มีความรู้สึกคล้ายกันเกี่ยวกับความไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพ และข่าวดีคือ เรามีวิธีที่จะก้าวผ่านความรู้สึกนี้ได้ การรู้สึกติดขัดไม่ได้หมายความว่าคุณอยู่ในที่ที่ไม่ใช่ของคุณหรือทำงานผิดที่นะคะ มันเป็นสัญญาณที่บอกให้เรารู้ว่าเราต้องปรับเปลี่ยนหรือหาทางใหม่ ๆ ค่ะ

ในบทความนี้ ฉันจะพูดถึงสาเหตุที่ทำให้หลายคนรู้สึกไม่ก้าวหน้าในงาน และแน่นอนว่าฉันจะแนะนำวิธีที่ช่วยให้คุณก้าวผ่านความรู้สึกนี้ได้ ไม่ว่าคุณจะต้องการค้นหาความชัดเจนในอาชีพหรือกลับไปค้นหาความสนใจที่เคยมี ฉันอยู่ที่นี่เพื่อซัพพอร์ตคุณในการพัฒนาและก้าวไปสู่เป้าหมายใหม่ ๆ ค่ะ

 

 

ทำไมคุณถึงรู้สึกว่าคุณไม่สามารถก้าวหน้าในสายอาชีพของตัวเอง?

ก่อนที่เราจะไปสำรวจสิ่งที่คุณสามารถทำได้เมื่อไม่สามารถก้าวหน้าในสายอาชีพ มาลองทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนี้กันนะ สาเหตุของความรู้สึกนี้มักมีหลายอย่างและสาเหตุอาจจะมาจากเรื่องส่วนตัว แต่มีบางประเด็นที่หลาย ๆ คนพูดตรงกันค่ะ:

  • หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยคือ ผู้คนมักจะหลงลืมว่าอะไรสำคัญหรืออะไรที่เป็นเป้าหมายหลักของพวกเขา คนส่วนใหญ่มักเริ่มงานด้วยความกระตือรือร้นและแน่วแน่กับเป้าหมาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป งานประจำวัน เช่น ภาระงาน กำหนดส่งงาน และความรับผิดชอบ อาจทำให้ความตื่นเต้นในตอนแรกลดลง ส่งผลให้ผู้คนห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้และแรงบันดาลใจในการทำงานก็ลดลง รวมถึงสิ่งที่เคยทำให้มีความสุขในการทำงานลดลงค่ะ
  • อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพคือ ความรู้สึกว่ามีงานหรือภาระมากเกินไป จนไม่รู้จะเริ่มต้นจากไหน หรือรู้สึกว่าทำไม่ทัน บางทีคุณอาจมีทักษะและความสนใจหลากหลายจนการเลือกเส้นทางไหนสักทางดูยากไปหมด การมีตัวเลือกมากมายอาจทำให้เกิดความรู้สึก 'ไม่รู้จะเลือกอะไรดี' หลายคนบอกฉันว่าพวกเขากังวลว่าจะเลือกผิด ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้เลย เมื่อเผชิญกับตัวเลือกมากมาย เราอาจรู้สึกสับสนและไม่แน่ใจว่าควรไปในทิศทางไหน ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตและความพอใจในชีวิตการทำงานค่ะ
  • บางครั้งความรู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพเกิดจากการขาดความชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการจากอาชีพของตัวเอง อาจเป็นไปได้ว่าคุณทำงานในตำแหน่งที่ขาดความชัดเจน หรือทำงานที่ไม่ตรงตามสิ่งที่ตัวเองหวังไว้ แต่กลับไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนั้น อาจเพราะยังไม่ได้มาวิเคราะห์ความรู้สึกของตัวเองอย่างลึกซึ้งค่ะ
  • ความกลัว โดยเฉพาะความกลัวที่จะตัดสินใจผิด สามารถทำให้คุณไม่กล้าลงมือทำอะไรได้ อาจมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่ตามมา เช่น 'ถ้าฉันทำแล้วมันไม่สำเร็จจะเกิดอะไรขึ้น?' หรือ 'ถ้าฉันเสียใจในสิ่งที่เลือกไปล่ะ?' วิธีคิดแบบนี้เรียกว่า 'catastrophizing' ซึ่งหมายถึงการคิดถึงสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของคุณ แม้ว่าในความเป็นจริงมันอาจไม่เกิดขึ้นเลยค่ะ

เมื่อคุณรู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพ มักเกิดจากการที่คุณประสบกับสิ่งที่เรียกว่า 'analysis paralysis' ซึ่งหมายถึงการคิดมากเกินไปเกี่ยวกับตัวเลือกต่าง ๆ จนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้เลย คุณพยายามหาข้อดีและข้อเสียของแต่ละตัวเลือกอย่างละเอียด พร้อมกับมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลและไม่กล้าลงมือทำอะไรเลยค่ะ

หากคุณรู้สึกว่าตัวเองติดอยู่ในวังวนของความคิดที่มีมากจนเกินไป วิธีการเริ่มต้นคือให้เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ก่อนค่ะ ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะต้องมีการเตรียมแผนรับมือที่ดีหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัดในทันที เพียงเน้นทำในสิ่งที่คุณสามารถทำได้ในวันนี้ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงก้าวเล็ก ๆ ก็ตาม

 

 

คุณสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อรู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพ?

เมื่อคุณรู้สึกรู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพ สิ่งแรกที่ควรทำคือการค้นหาตัวเอง ใช้เวลามองย้อนกลับไปเพื่อพิจารณาคุณลักษณะ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ของตัวเอง เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรทำให้คุณรู้สึกดีหรือไม่ดีในชีวิตและการทำงาน สิ่งที่คุณต้องการ และสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ หรือปรับเปลี่ยนเส้นทางอาชีพให้ตรงกับความต้องการและความสุขของคุณมากขึ้น

หลังจากนั้น ฉันมีเครื่องมือบางอย่างที่สามารถแชร์ให้กับคุณและแนะนำให้นำไปใช้ ในฐานะโค้ชผู้เชี่ยวชาญของนัลลูรี่ เพื่อช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการมากขึ้น และวางแผนการทำงานการต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

1. แนวคิด ‘อิคิไก’

ซึ่งเป็นแนวคิดจากญี่ปุ่นที่แปลว่า 'เหตุผลในการมีชีวิต' แนวคิดนี้ช่วยให้คุณค้นหาความหมายและความสุขในสิ่งที่คุณทำ โดยการสะท้อนถึงสี่ด้านหลัก ได้แก่ สิ่งที่คุณรัก สิ่งที่คุณเก่ง สิ่งที่โลกต้องการ และสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อสร้างรายได้ การสำรวจทั้งสี่ด้านนี้จะช่วยให้คุณค้นพบสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกมีความหมายและเติมเต็มในชีวิตมากขึ้นค่ะ

  • สิ่งที่คุณรัก: กิจกรรมใดที่ทำให้คุณรู้สึกมีพลังและมีความสุข?
  • สิ่งที่คุณเก่ง: ทักษะไหนที่คุณทำได้ดีและมีความเชี่ยวชาญ?
  • สิ่งที่โลกต้องการ: งานของคุณจะสามารถช่วยให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร?
  • สิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อสร้างรายได้: ทักษะหรือบริการใดที่มีคุณค่าในตลาดงาน?

โดยการค้นหาจุดที่ทั้งสี่ด้านนี้ตัดกัน จะช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองได้ว่างานไหนที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขและมีความหมายมาก โดยให้ลองเริ่มจากการถามตัวเองว่า:

  • ส่วนไหนของงานที่ฉันสนุกที่สุด?  
  • งานไหนทำให้ฉันรู้สึกมีพลัง และอะไรที่ทำให้ฉันรู้สึกเหนื่อย?
  • วันทำงานในอุดมคติของฉันจะเป็นอย่างไร?

การถามคำถามเหล่านี้ข้างต้นกับตัวเองสามารถช่วยให้คุณหาคำตอบได้ว่าบทบาทปัจจุบันของคุตรงกับสิ่งที่คุณต้องการอยู่หรือเปล่า ต้องปรับอะไรอีกไหม เพื่อให้คุณรู้สึกทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุขและพึงพอใจกับชีวิตมากขึ้นค่ะ

 

2. การทดสอบบุคลิกภาพ

มีเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้น คือ  Myers-Briggs Type Indicator (MBTI) ซึ่งเป็นแบบทดสอบบุคลิกที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยจะแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 16 แบบด้วยกัน นอกจากนี้ยังมี CliftonStrengths ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ช่วยค้นหาจุดแข็งเฉพาะตัวคุณ และช่วยให้คุณใช้จุดแข็งเหล่านั้นเพื่อประสบความสำเร็จในงานที่ทำและชีวิตส่วนตัว การเข้าใจว่าลักษณะนิสัยของคุณสอดคล้องกับหน้าที่่ที่คุณทำอยู่ในปัจจุบันอย่างไร จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณเก่งในด้านไหนและมีความท้าทายหรือ ปัญหาในด้านไหนบ้าง ซึ่งจะช่วยให้คุณพัฒนาตนเองได้ดีขึ้นได้ไหม

คุณควรให้ความสำคัญกับจุดแข็งของตัวเองค่ะ คนเรามักจะโฟกัสที่จุดอ่อนและต้องการแก้ไขมัน แต่แทนที่เราจะทำเช่นนั้น ลองมาพัฒนาสิ่งที่เราทำได้ดีและมีอยู่แล้วดูสิ การพัฒนาจุดแข็งนั้นมักจะง่ายกว่า และยังช่วยให้เราภูมิใจในตัวเองมากขึ้น รวมถึงช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานด้วยค่ะ

 

3. การทำให้ค่านิยมสอดคล้องกัน

บางครั้งการรู้สึกไม่ก้าวหน้าในสายอาชีพเกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างองค์กรกับค่านิยมส่วนตัว ค่านิยมคือหลักการพื้นฐานที่ชี้นำการตัดสินใจและการกระทำของคุณ และเมื่อคุณทำงานที่ไม่ตรงกับค่านิยมเหล่านั้น อาจทำให้คุณรู้สึกท้อแท้ได้ค่ะ

ลองใช้เวลาสักหน่อยในการเขียนค่านิยมห้าข้อที่สำคัญที่สุดของคุณดูนะคะ อาจจะรวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ความสมดุลระหว่างงานและชีวิต หรือการช่วยเหลือผู้อื่น จากนั้นลองสรุปดูว่าหน้าที่ปัจจุบันของคุณตรงกับค่านิยมเหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็ลองปรับเปลี่ยนดู เพื่อให้มันกลับมาสอดคล้องกับสิ่งที่สำคัญต่อคุณมากขึ้นค่ะ

 

4. การตรวจสอบทักษะอย่างสม่ำเสมอ

ตลาดงานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการปรับตัวให้ทันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้น ฉันขอแนะนำให้คุณทำการตรวจสอบทักษะและจุดแข็งของคุณอย่างสม่ำเสมอ ประเมินว่าคุณอยู่ในจุดไหนในตอนนี้ ทักษะใดที่กำลังเป็นที่ต้องการ และทักษะปัจจุบันของคุณตรงกับความต้องการเหล่านั้นหรือไม่

ลองถามตัวเองว่า:

  • ทักษะใดที่ฉันมีซึ่งมีคุณค่าในอุตสาหกรรมของฉัน?
  • มีทักษะใหม่ ๆ ที่ฉันจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันได้หรือไม่?
  • ฉันจะต่อยอดจุดแข็งของฉันต่อไปได้อย่างไร เพื่อให้ยังคงมีส่วนร่วมในบทบาทของตนเอง?

กระบวนการนี้จะช่วยให้คุณทันสมัยอยู่เสมอและมั่นใจว่าคุณกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้คุณจะยังไม่ได้วางแผนเปลี่ยนงานก็ตาม

ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับอุปสรรค หลายคนมักมีคำถามคล้ายๆ กัน ซึ่งอาจเป็นคำถามที่คุณก็กำลังคิดอยู่เหมือนกัน?

นี่คือคำถามบางส่วน:

1. ฉันไม่รู้ว่าต้องการอะไร ฉันจะหาแพชชั่นของตัวเองได้อย่างไร?

เป็นหนึ่งในคำถามที่ลูกค้าถามบ่อย หลายคนถามว่าฉันจะหาแพชชั่นและเป้าหมายได้อย่างไร และมักจะคิดว่าฉันมีแพชชั่นไหมหรือไม่มี แต่จริงๆ แล้วเราสามารถหาแพชชั่นได้จากทำสิ่งที่มีความหมาย 
แทนที่จะถามกับตัวเองว่า อะไรคือแพชชั่นของฉัน? ลองปรับคำถามใหม่เป็น:

  • ฉันเก่งในการแก้ปัญหาอะไรบ้าง?
  • ใครที่สามารถได้รับประโยชน์จากทักษะของฉัน? 
  • ฉันจะใช้จุดแข็งของตัวเองเพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อย่างไร?

การโฟกัสไปที่ปัญหาที่คุณสามารถช่วยแก้ไขได้และยังเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น จะทำให้คุณค้นพบแพชชั่นที่อยู่ในตัวเอง และเมื่อคุณรู้สึกว่างานของคุณมีเป้าหมาย คุณจะรู้สึกมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น

 

2. ฉันรู้ว่าฉันไม่ต้องการอะไร แต่กลับไม่แน่ใจว่าความต้องการของฉันคืออะไรกันแน่ และจะหาวิธีเพื่อเมคชัวร์ว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการได้อย่างไร?

กาที่คุณรู้ว่าไม่ต้องการอะไรถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากเลยค่ะ มันช่วยให้คุณโฟกัสและหลีกเลี่ยงสิ่งที่คุณจะนำพลังงานของคุณไปใช้อย่างไร้ประโยชน์ หลังจากนั้นก็ลองสำรวจและทดลองสิ่งต่าง ๆ ดู แทนที่จะเครียดเพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะสมหรือดีที่สุดกับคุณเลยในทันที ขอให้คุณเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองทำงานหรือโปรเจคที่หลากหลายดูแล้วสังเกตว่าคุณรู้สึกอย่างไร อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นหรือรู้สึกสำเร็จบ้าง?
ลองเริ่มด้วยการคิดและเขียนว่าอะไรบ้างที่คุณทำได้ดี เมื่อคุณได้เขียนออกมา จะช่วยให้คุณเห็นความชัดเจนกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการในอนาคตค่ะ

 

3. ฉันรู้สึกขาดแรงจูงใจในการทำงาน ควรทำอย่างไรดี?

ทุกคนคงเคยเผชิญกับความรู้สึกขาดแรงจูงใจในการทำงานกันบ้าง นั่นอาจเกิดจากความเหนื่อยล้าและท้อแท้ จากการทำงานแบบเดิมๆ หรืออาจจะเกิดจากปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคและทำให้คุณรูสึกแบบนั้น สิ่งแรกที่แนะนำคือให้คุณหยุดสักครู่และลองพิจารณาว่าสิ่งที่คุณทำในปัจจุบันของคุณตรงกับสิ่งที่คุณต้องการและเป็นสิ่งที่คุณทำได้ดีหรือไม่ ด้วยคำถามเหล่านี้:

  • ทำไมฉันรู้สึกแบบนี้ในตอนนี้? มีเหตุการณ์หรืออะไรที่ทำให้เกิดความรู้สึกนี้หรือเปล่า?
  • ครั้งสุดท้ายที่ฉันได้หยุดพักจาการทำงานจริงๆ คือเมื่อไหร่?
  • ฉันแค่ต้องการเวลาพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูตัวเองหรือเปล่า หรือว่านี่หรือว่ามีปัญหาอะไรลึกๆที่ซ่อนอยู่?

แรงจูงใจที่เรารู้สึกอาจไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียวเสมอไปนะคะ มันอาจบ่งบอกถึงปัญหาหรือความท้าทายที่ลึกซึ้งกว่าที่เราเห็น ดังนั้นการหาสาเหตุเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมการทำงาน หรือภายใน เช่น ความไม่สอดคล้องกับบทบาทของคุณ เมื่อคุณสามารถชี้ได้ว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนี้ ก็จะช่วยให้คุณเริ่มต้นแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้

 

4. ฉันไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ และจะก้าวผ่านความรู้สึกนี้ได้อย่างไร?

ถ้าคุณรู้สึกไม่พอใจกับงานของคุณอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือการหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนี้ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือบทบาทที่คุณทำอยู่เล็กๆน้อยๆ สามารถช่วยให้คุณรู้สึกมีแรงจูงใจหรือทำให้คุณหาเป้าหมายใหม่ได้
ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ดู:

  • มีส่วนไหนในงานที่รู้สึกสนุกบ้างไหม?
  • ฉันสามารถทำโปรเจคใหม่ๆเพื่อสร้างความตื่นเต้นในงานที่ทำได้ไหม?
  • ฉันจะทำให้การทำงานในทุกๆวันของฉัน มีความหมายได้อย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การที่เราตั้งใจเลือกทำงานที่ทำให้เรามีความสุขหรือโปรเจคที่เราสนใจก็สามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึกให้เรามีแรงบันดาลใจและพึงพอใจกับสิ่งที่ทำได้ เมื่อคุณรู้สึกไม่พอใจกับบางส่วนในงานที่ทำอยู่ แสดงว่าคุณอาจพัฒนาทักษะจนหน้าที่ในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณอีกต่อไปแล้ว สัญญาณนี้อาจเป็นแรงกระตุ้นให้คุณพัฒนาตนเองไปในทิศทางใหม่ที่สอดคล้องกับการเติบโตของคุณ
แม้แต่การปรับเปลี่ยนเล็กน้อย เช่น การเน้นไปทำงานที่ทำให้คุณมีความสุขหรือนำโปรเจกต์ที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับความสนใจของคุณ ก็สามารถทำให้คุณรู้สึกอยากกลับมาเห็นคุณค่ากับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ได้ บางครั้งความไม่พอใจคือสัญญาณที่บอกว่าคุณได้พัฒนาไปไกลกว่าหน้าที่ในปัจจุบนของคุณแล้ว และถึงเวลาที่คุณต้องพัฒนาหรือลงมือทำอะไรใหม่ๆแล้ว

 

5. งานของฉันไม่สอดคล้องกับค่านิยมของฉัน ฉันควรทำอย่างไร?

เมื่อคุณรู้สึกว่างานไม่ตรงกับค่านิยมของตัวเอง มันอาจทำให้รู้สึกเกิดความหงุดหงิดได้ค่ะ สิ่งสำคัญคือการใช้เวลาทบทวนว่าคุณให้ความสำคัญกับอะไร บทบาทของคุณส่งเสริมหรือขัดแย้งกับค่านิยมเหล่านั้นยังไงบ้าง?

ลองประเมินดูนะคะว่าความไม่สอดคล้องนี้มันสร้างผลกระทบแค่ไหน ถ้ากระทบเล็กน้อย มีผล 20-30% ของงาน ก็อาจมีวิธีปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ถ้าส่งผลกระทบต่องานและชีวิตของเรามาก อาจถึงเวลาแล้วที่คุณต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง

เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบค่านิยมของตัวเองและค่านิยมของบริษัท ลองดูว่ามีช่องว่างระหว่างกันอยู่หรือเปล่า หากมีคุณอาจปรับขอบเขตงานหรือความรับผิดชอบของตัวเองเพื่อให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการมากขึ้นได้ค่ะ บางครั้งการพูดคุยกับหัวหน้าของคุณเกี่ยวกับความกังวลเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้การทำงานของคุณกลับมาสอดคล้องกับค่านิยมของคุณได้

 

 

บทสรุป 

ความรู้สึกไม่ก้าวหน้าในงานไม่ใช่จุดจบในอาชีพของคุณ มันอาจเป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ก็ได้ บางครั้งแค่การเปลี่ยนมุมมอง ได้มานั่งวิเคราะห์เพื่อเข้าใจตัวเอง และกล้าที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลง ถึงจะเป็นแค่ก้าวเล็กๆ ก็สามารถพาคุณไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกไม่แน่ใจว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร, ไม่มีแรงจูงใจ หรือไม่สนุกกับงานที่ทำอยู่ก็ตาม จำไว้ว่าคุณสามารถเลือกเส้นทางอาชีพของตัวเองได้เสมอ

ถ้าคุณรู้สึกกดดันหรือมีความสับสนเกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิต อย่าลืมว่าคุณไม่ต้องเผชิญกับเรื่องนี้เพียงคนเดียว มานัดพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว (1-on-1) กับโค้ชผู้เชี่ยวชาญของ Naluri ได้แล้ววันนี้ โค้ชของเรายินดีที่จะช่วยเหลือ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ และช่วยให้คุณสามารถมองเห็นทิศทางหรือแนวทางในการก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจและมีความสุขค่ะ

 


ลิเดีย พล็อตกีนา คือโค้ชผู้เชี่ยวชาญของ Naluri ที่มีประสบการณ์มากมายที่จะช่วยให้คุณพัฒนาและเติบโตในอาชีพ พร้อมหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ ลิเดียเป็นโค้ชที่เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของลูกค้า เธอมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุสิ่งที่หวังได้สำเร็จ และสามารถช่วยจัดการกับความท้าทายที่คุณกำลังเผชิญอยู่ได้ นอกจากนี้ ลิเดียยังมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เพื่อสามารถใช้ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพอย่างมีความสุข 

ลิเดียมีวิธีการสื่อสารที่เป็นกันเองและเปิดกว้าง ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจในการพูดคุยและแสดงความคิดเห็น ด้วยสไตล์การสื่อสารนี้ ลูกค้าจะรู้สึกกล้าที่จะแชร์ความคิดและความรู้สึกของตนเองได้อย่างอิสระและมั่นใจ โดยเน้นถึงความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโค้ชและลูกค้า เพื่อให้การสนทนาเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาและช่วยให้ลูกค้าสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

You may also like